สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยตอนนี้กำลังเป็นที่น่าจับตามอง เมื่อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ “โอมิครอน” ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ครอบครองพื้นที่การระบาดของประเทศไทยมากถึง 97.2% ในขณะที่อีก 2.8% เป็นเชื้อเดลตา และพบในทุกจังหวัด โดยกรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มียอดผู้ติดเชื้อโอมิครอนสูงที่สุด ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศนั้นตรวจพบเชื้อโอมิครอน 99.4% ในขณะที่ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึง 96.4%
เนื่องด้วยความเร็วในการแพร่ระบาดของโอมิครอนที่รวดเร็วยิ่งกว่าโควิดสายพันธุ์เดลตา และ BA.1 สูงถึง 30-40% ทำให้ตัวเลขของผู้ที่ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 หรือสายพันธุ์ล่องหน ที่เริ่มมีสัดส่วนของการป่วยการติดเชื้อเพิ่มขึ้น และอาจเข้ามาแทนที่สายพันธุ์หลัก BA.1 หลังพบว่าสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวเริ่มแพร่กระจายไปในหลายประเทศมากขึ้น หลังจากค้นพบครั้งแรกเพียง 3 เดือน โดยเฉพาะประเทศเดนมาร์กที่มีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ BA.2 เป็นจำนวนมาก
สำหรับสายพันธุ์ BA.2 มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวของญี่ปุ่นพบว่า สายพันธุ์ BA.2 ไม่ได้แพร่กระจายได้เร็วเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับก่อให้เกิดอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์ BA.1 และสายพันธุ์เดลตา อีกทั้งยังสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและยารักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้อีกด้วย เนื่องจากมีการกลายพันธุ์สูง โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ที่โปรตีนหนาม ซึ่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะช่วยป้องกันให้เกิดอาการป่วยประมาณ 74% หรือน้อยกว่านี้ โดยงานวิจัยของศูนย์ไวรัสวิทยาและวิจัยวัคซีน บอสตัน สหรัฐอเมริกา ที่ศึกษาระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถยับยั้งไวรัส (Neutralizing Antibodies) พบว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนเข็มกระตุ้นยับยั้ง BA.2 ได้น้อยกว่า BA.1 เท่ากับ 1.4 เท่า และน้อยกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 8.4 เท่า
โดยโอมิครอนสามารถแพร่กระจายหรือติดต่อไปสู่บุคคลอื่นได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากไวรัสจะไปเกาะที่บริเวณเซลล์ผนังลำคอจำนวนมาก และเมื่อผู้ติดเชื้อพูดคุย ตะโกน ไอ จาม ก็จะสามารถทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้อย่างง่ายดาย และหากยิ่งอยู่ในพื้นที่ปิด เชื้อโควิดจะตกค้างและลอยอยู่ในอากาศได้นาน เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งการเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศจะมีส่วนช่วยในการลดการสะสมของเชื้อโรคได้
นอกจากนี้ การตรวจ ATK นับว่าเป็นทางแก้ปัญหาอีกทางหนึ่งที่จะช่วยคัดกรองความเสี่ยงและนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาได้ทันท่วงที
โดยผู้ที่ตรวจ ATK เป็นบวก แล้วไม่มีอาการ
ให้แยกตัวกักตัวเองทันที อาจไม่จำเป็นที่ต้องไปตรวจยืนยัน
แต่ให้ปฏิบัติตัวเหมือนผู้ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย
ในขณะที่ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแม้ว่าจะมีผลตรวจเป็นลบก็ควรกักตัว 7 วัน
และสังเกตอาการต่ออีก 3 วัน และตรวจ ATK ซ้ำภายใน 3 - 5 วันหลังการตรวจครั้งแรก
อ้างอิง
1. ดร.อนันต์ เผย อีกไม่นาน BA.2
จะเป็นสายพันธุ์หลัก แทนที่ BA.1 ดุพอ ๆ
กับเดลตา. (2022, February 20). Nation Online. Retrieved February 21,
2022, from https://www.nationtv.tv/news/378864344
2. ทำไม BA.2 ถึงแพร่กระจายเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์เดิม. (2022, February 18).
The Standard. Retrieved February 21, 2022, from https://thestandard.co/why-ba-2-is-faster-spreading-than-omicron/
3. ผงะ นักวิจัยญี่ปุ่น พบ
“โอมิครอนล่องหน” BA.2 ร้ายกว่าตัวแม่. (2022,
February 18). Thairath Online. Retrieved February 21, 2022, from https://www.thairath.co.th/news/foreign/2319666
4. รู้จักโอมิครอนล่องหน BA.2
ตรวจเจอยากขึ้น ลามแล้ว 40 ประเทศ. (2022,
January 28). Thairath Online. Retrieved February 21, 2022, from https://www.thairath.co.th/news/foreign/2299444?utm_source=dable
5. หมอยง ชี้ BA.2
จ่อระบาดหนัก ห่วงตัวเลขคนติดเชื้อไปแตะหลักแสน. (2022,
February 20). Thai Post. Retrieved February 21, 2022, from https://www.thaipost.net/covid-19-news/89242/
6. ‘หมอยง’ ชี้โอมิครอน BA.2 แนวโน้มเพิ่มขึ้นในไทย. (2022, February 19). Matichon Online.
Retrieved February 21, 2022, from https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3192242
7. “โอมิครอน” ครองทุก จว. จับตา “BA.2”
กลายพันธุ์มากสุด ติดง่าย-แพร่เร็ว. (2022, February 19).
Thairath Online. Retrieved February 21, 2022, from https://www.thairath.co.th/news/local/2319892
8. อย่าเพิ่งวางใจ
ญี่ปุ่นชี้ Omicron ล่องหนร้ายกาจกว่าเชื้อเดิม. (2022, February 19). Post Today. Retrieved February 21,
2022, from https://www.posttoday.com/world/676101
more สาระดีๆ MP บอกต่อ Feb 2022
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว