สาระดีๆ MP บอกต่อ

ชวนรู้จัก COVID-19 กลายพันธ์ุที่ต้องเฝ้าระวัง

ชวนรู้จัก COVID-19 กลายพันธ์ุที่ต้องเฝ้าระวัง


          ในปัจจุบันนี้ มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากรายงานการติดเชื้อและการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นทุกวัน และถึงแม้ว่าจะมีวัคซีนหลายชนิดและมีการฉีดวัคซีนในหลาย ๆ ประเทศแล้ว แต่เราก็ยังไม่เห็นตอนจบของเรื่อง ว่าจะใช้เวลายาวนานเพียงไรวิกฤตการณ์นี้จึงจะยุติลง เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ของไวรัสจากสายพันธุ์เดิม ทำให้เกิดความยากลำบากในการจัดการไวรัสโควิด-19 ที่กลายพันธุ์นี้

เชื้อโควิดกลายพันธุ์มีอะไรบ้าง

          • สายพันธุ์ B.1.1.7 (GR,G) หรือสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ตรวจพบครั้งแรกในประเทศอังกฤษ โดยสายพันธุ์นี้สามารถกลายพันธุ์ได้ถึง 17 ตำแหน่ง โดยหนึ่งในจุดที่พบการกลายพันธุ์คือโปรตีนส่วนหนามของไวรัส ซึ่งทำให้เชื้อไวรัสจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ดีขึ้น แต่วัคซีนที่ถูกพัฒนาขึ้น ยังสามารถต่อต้านสายพันธุ์นี้ได้

          • สายพันธ์ุ B.1.351 (GH,G) หรือสายพันธุ์บีตา (Beta) พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งมีการกลายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นจากชนิดที่พบในอังกฤษ ซึ่งอาจทำให้มีความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดิมหรือแม้กระทั่งวัคซีนได้

          • สายพันธุ์ P. 1 หรือสายพันธุ์แกมมา (Gamma) พบครั้งแรกในประเทศบราซิล เนื่องจากมันมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เพราะมันสามารถทะลุทะลวงเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายมาก อีกทั้งยังสามารถเอาตัวรอดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ซึ่งนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการติดเชื้อซ้ำ และพบว่าวัคซีนบางชนิดมีประสิทธิผลน้อยลงต่อเชื้อนี้

           สายพันธุ์ B.1.617.2 หรือสายพันธุ์เดลตา (Delta) ถูกพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ซึ่งการกลายพันธุ์อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สายพันธุ์นี้แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น เนื่องจากพบการกลายพันธุ์คู่ ที่อาจทำให้ไวรัสติดต่อได้ง่ายขึ้น หรือหลบระบบป้องกันในร่างกายมนุษย์ได้ดีขึ้น โดยวัคซีนที่ถูกพัฒนาขึ้น ยังสามารถต่อต้านสายพันธุ์อินเดียได้

          • สายพันธุ์ C.36.3 ซึ่งถูกรายงานเป็นครั้งแรกจากเมืองไทยในผู้ที่เดินทางมาจากอียิปต์ มีความเป็นไปได้ที่เชื้อนี้น่าจะเกิดขึ้นในอียิปต์หรือประเทศแถบนั้น ซึ่งลักษณะที่น่าสนใจของสายพันธุ์นี้ คือ มีตำแหน่งการกลายพันธุ์บนโปรตีนส่วนหนามของไวรัสที่สำคัญ น่าจะมีผลให้การแพร่เชื้อเกิดง่ายขึ้น และอาจดื้อต่อ antibody บ้าง แต่ไม่มากเท่าที่พบในสายพันธุ์แอฟริกาใต้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับเจ้าเชื้อตัวนี้มากนัก

    โดยตั้งแต่ที่เราพบไวรัสโควิด-19 มาจนถึงปัจจุบัน ก็มีการกลายพันธุ์ของเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาตัวเองของเชื้อไวรัสในการอยู่รอด การต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 จึงอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น “วัคซีน” จึงเป็นความหวังเดียวที่เราจะใช้ในการต่อสู้กับเจ้าเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
คลิก

#MPGroup #LiveAnExcellentLife



more สาระดีๆ MP บอกต่อ Jul 2021

Rapid Test สิ่งที่ควรรู้ก่อนตรวจโควิดที่บ้าน

ชุดตรวจการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง ตรวจเองได้ที่บ้าน ลดการแพร่กระจายเชื้อ เพื่อสังคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

ชุดตรวจการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง ทิ้งอย่างไรเมื่อใช้งานแล้ว?

รู้จัก ชุดตรวจการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง อีกหนึ่งทางเลือกของการตรวจคัดกรอง COVID-19

COVID-19 Ag Home Test ตรวจง่าย ๆ ที่บ้านด้วยตัวเอง

ข้อแนะนำก่อนเริ่มใช้ 'ชุดตรวจการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง'

ชวนรู้จัก ชุดตรวจการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง

MP GROUP (THAILAND) CO., LTD

12, Soi Nakniwat 12 Nakniwat Road, Ladprao, Ladprao 10230, Bangkok, Thailand

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว